วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การสร้างสรรค์โมเดลกระดาษจากกล่องบรรจุภัณฑ์

การสร้างสรรค์โมเดลกระดาษจากกล่องบรรจุภัณฑ์

ฮารุกิ ศิลปินชาวญี่ปุ่นคนนี้กลับสร้างสรรค์ผลงานสุดอลังการจากกล่องขนมที่ทุกคนทิ้งออกมา ได้อย่างน่าทึ่ง โดยใช้เทคนิค Kamikiri หรือ ศิลปะการตัดกระดาษเข้ามาประยุกต์ โดยโมเดล หุ่นที่เขาได้ประดิษฐ์ขึ้นมานั้นทำมาจากกล่องช็อกโกแลต กล่องกระดาษชำระ กระป๋องมันฝรั่ง และกล่องขนมจากหลากหลายแบรนด์ จนทำให้มีคนจำนวนมากเข้ามาชื่นชมผลงาน

ซึ่งในรายวิชา ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการออกแบบ ได้ให้นักศึกษาสร้างสรรค์โมดกลกระดาษจากกล่องบรรจุภัณฑ์ โดยใช้แนวความคิด Reuse เป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด ผลงานด้านล่างนี้เป็นผลงานนักศึกษา สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ซึ่งนักศึกษามองกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เป็นฟอ์มต่าง ๆ และใช้กราฟิกเหล่านี้สร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ของโมเดล

ผลงานนนักศึกษา นายกฤตวัฒน์ วิบูลย์ปิ่น

ผลงานนักศึกษา นางสาวรุ่งนภา รักษา

ผลงานนักศึกษา นางสาวพลอยไพลิน ขันคำกาศ

ผลงานนนักศึกษา นางสาวสุภัทตรา วงศ์ราช

ผลงานนักศึกษา นางสาวอภิภัทรา อิ่มจันทร์

ผลงานนนักศึกษา นางสาวสิริกุล  ทรายทอง

ผลงานนักศึกษา นางสาวเรืองวิลัย  นาคำ

ผลงานนักศึกษา นางสาวณัฐยาภรณ์  โททอง

ผลงงานนักศึกษา นายเฉลิมศักดิ์  แก้ววังน้ำ

ผลงานนักศึกษา นายอัครภูมิ ประดับวัน

ผลงานนักศึกษา นายสุกฤษฎิ์ แก้วอิ่ม

ผลงานนักศึกษา นางสาวกนกวรรณ พุ่มเงิน

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

กิจกรรมการระดมสมอง หรือ Brainstroming

นักศึกษาได้รับโจทย์ของการออกแบบแล้ว จึงฝึกให้นักศึกษาค้นหาไอเดียในการออกแบบ ผ่านประสบการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์ ให้ระบุลักษณะงานออกแบบที่ดีและลักษณะงานออกแบบที่ด้อย ด้วยวิธีการระดมสมอง (Brainstroming) เป็นการระดมสมองอย่างสร้างสรรค์ไม่ติดกรอบวิธีคิดแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ โดยผ่านการนำเสนอความคิดจากนักศึกษาทุกคน ซึ่งในครั้งนี้ได้ให้นักศึกษาร่วมระดมสมอง ผ่าน เว็บไซต์ที่ให้บริการกระดานแสดงความคิดเห็นออนไลน์ Padlet
ขั้นตอนการระดมสมอง ในวิชา ARTD3501 ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการออกแบบ แขนงออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
เมื่อจบกิจกรรมนักศึกษาจะมีทักษะในการคิดมากขึ้น กิจกรรมนี้ฝึกให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยไม่ตัดสินว่าความคิดเห็นของใครถูกผิดในทันที การใช้ Padlet ทำให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น ซึ่งในครั้งนี้ นักศึกษาไม่ต้องระบุตัวตน ทำให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นและมุมมองอย่างไม่เขินอาย นักศึกษาจะเห็นประเด็นร่วมกันในส่วนลักษณะของการออกแบบที่ดี ทำให้เห็นแนวทางในการออกแบบ และเห็นลักษณะแนวทางที่ด้อย เป็นการเลี่ยงที่จะไม่ออกแบบตามลักษณะดังกล่าว