วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

การสร้างสรรค์หน้ากากอนามัย จาก Craft Trend 2020

จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้เกิด ความปกติรูปแบบใหม่ หรือ New normal จึงได้กำหนดโจทย์ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบให้เชื่อมโยงกับสถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งเพื่องานออกแบบตอบสนองต่อผู้บริโภค ซึ่งประเมินว่าจะส่งอิทธิพลทางความคิดต่อผู้บริโภค และสังเคราะห์เป็นแนวทางในการออกแบบงานหัตถศิลป์ (Craft Trend 2020 by SACICT) เช่น กลุ่ม 

1. Serenergy คือ กลุ่มผู้บริโภคที่มองหาบางอย่างเพื่อเติมเต็ม คุณค่า ค้นหาวิถีชีวิตใหม่ที่มีสติ ยั่งยืน ปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ เพื่อสร้างความสมดุลให้ชีวิต สงบ ผ่อนคลาย คนกลุ่มนี้นำไปสู่แนวทางการออกแบบ 

True Value ตระหนักในคุณค่าแท้ มี Keywords สำคัญได้แก่ NOWNESS (มีสติรู้ทันปัจจุบัน), CIRCULAR ECONOMY (เศรษฐกิจหมุนเวียน), SANCTUARY (พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ภายในจิตใจ)

2. Utopioneer คือ กลุ่มผู้บริโภคที่มองหาความท้าทายของโลกสมัยใหม่ ทะเยอทะยานที่จะเรียนรู้และทดลองกับเทคโนโลยีใหม่  เพื่อบุกเบิกเส้นทางสู่อนาคตสร้างสังคมที่ดีกว่า สร้างโลกที่ดีขึ้น เพื่อเข้าใกล้โลกในอุดมคติให้มากที่สุด คนกลุ่มนี้นำไปสู่แนวทางการออกแบบ

TECHNICAL CRAFT นวัตกรรมแห่งงานหัตถศิลป์ Keywords สำคัญได้แก่ BEYOND LIMIT (ก้าวข้ามข้อจำกัด), BIOMIMICRY (นวัตกรรมเลียนแบบธรรมชาติ), UTILITARIAN (ถือประโยชน์เป็นสำคัญ)

3. Anti-boring ใช้ชีวิตอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ช่างคิด ช่างฝัน เปี่ยมจินตนาการ สนุกสนาน ชอบผจญภัย เปิดใจให้กับโลกรอบตัว เพื่อผสมผสานให้เกิดความเป็นตนเอง คนกลุ่มนี้นำไปสู่แนวทางการออกแบบ

HAPPINESS PLAY เล่นอย่างสร้างสรรค์ Keywords สำคัญได้แก่ EXPERIMENT (กล้าทดลอง), POSITIVE (มองโลกในแง่ดี), FANTASY (จินตนาการเพ้อฝัน), TRIBAL (อัตลักษณ์ชนเผ่า)

4. Precidealist คือ กลุ่มคนมีอุดมการณ์อันแรงกล้า เป็นผู้นำทางความคิด มีจุดยืนที่ชัดเจน มีชื่อเสียงในสังคม น่าหลงใหล ลึกซึ้ง สนใจรากและที่มา คนกลุ่มนี้นำไปสู่แนวทางการออกแบบ

HERITAGE  FUSION หลอมรวมรากทางศิลปะอันล้ำค่า Keywords สำคัญได้แก่ LIBERAL (เสรีนิยม), MYSTERY (ลึกลับน่าค้นหา), GLAMOROUS (มีเสน่ห์ น่ามอง)


ผลงานการออกแบบหน้ากากอนามัย ด้วยการสร้างสรรค์ผสมการออกแบบและคำนึงถึงฟังก์ชันการใช้งาน
ของนักศึกษาแขนงออกแบบนิเทศศิลป์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ในรายวิชา ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการออกแบบ โดย อาจารย์นรรชนภ  ทาสุวรรณ เป็นผู้สอน

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การสร้างสรรค์โมเดลกระดาษจากกล่องบรรจุภัณฑ์

การสร้างสรรค์โมเดลกระดาษจากกล่องบรรจุภัณฑ์

ฮารุกิ ศิลปินชาวญี่ปุ่นคนนี้กลับสร้างสรรค์ผลงานสุดอลังการจากกล่องขนมที่ทุกคนทิ้งออกมา ได้อย่างน่าทึ่ง โดยใช้เทคนิค Kamikiri หรือ ศิลปะการตัดกระดาษเข้ามาประยุกต์ โดยโมเดล หุ่นที่เขาได้ประดิษฐ์ขึ้นมานั้นทำมาจากกล่องช็อกโกแลต กล่องกระดาษชำระ กระป๋องมันฝรั่ง และกล่องขนมจากหลากหลายแบรนด์ จนทำให้มีคนจำนวนมากเข้ามาชื่นชมผลงาน

ซึ่งในรายวิชา ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการออกแบบ ได้ให้นักศึกษาสร้างสรรค์โมดกลกระดาษจากกล่องบรรจุภัณฑ์ โดยใช้แนวความคิด Reuse เป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด ผลงานด้านล่างนี้เป็นผลงานนักศึกษา สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ซึ่งนักศึกษามองกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เป็นฟอ์มต่าง ๆ และใช้กราฟิกเหล่านี้สร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ของโมเดล

ผลงานนนักศึกษา นายกฤตวัฒน์ วิบูลย์ปิ่น

ผลงานนักศึกษา นางสาวรุ่งนภา รักษา

ผลงานนักศึกษา นางสาวพลอยไพลิน ขันคำกาศ

ผลงานนนักศึกษา นางสาวสุภัทตรา วงศ์ราช

ผลงานนักศึกษา นางสาวอภิภัทรา อิ่มจันทร์

ผลงานนนักศึกษา นางสาวสิริกุล  ทรายทอง

ผลงานนักศึกษา นางสาวเรืองวิลัย  นาคำ

ผลงานนักศึกษา นางสาวณัฐยาภรณ์  โททอง

ผลงงานนักศึกษา นายเฉลิมศักดิ์  แก้ววังน้ำ

ผลงานนักศึกษา นายอัครภูมิ ประดับวัน

ผลงานนักศึกษา นายสุกฤษฎิ์ แก้วอิ่ม

ผลงานนักศึกษา นางสาวกนกวรรณ พุ่มเงิน

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

กิจกรรมการระดมสมอง หรือ Brainstroming

นักศึกษาได้รับโจทย์ของการออกแบบแล้ว จึงฝึกให้นักศึกษาค้นหาไอเดียในการออกแบบ ผ่านประสบการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์ ให้ระบุลักษณะงานออกแบบที่ดีและลักษณะงานออกแบบที่ด้อย ด้วยวิธีการระดมสมอง (Brainstroming) เป็นการระดมสมองอย่างสร้างสรรค์ไม่ติดกรอบวิธีคิดแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ โดยผ่านการนำเสนอความคิดจากนักศึกษาทุกคน ซึ่งในครั้งนี้ได้ให้นักศึกษาร่วมระดมสมอง ผ่าน เว็บไซต์ที่ให้บริการกระดานแสดงความคิดเห็นออนไลน์ Padlet
ขั้นตอนการระดมสมอง ในวิชา ARTD3501 ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการออกแบบ แขนงออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
เมื่อจบกิจกรรมนักศึกษาจะมีทักษะในการคิดมากขึ้น กิจกรรมนี้ฝึกให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยไม่ตัดสินว่าความคิดเห็นของใครถูกผิดในทันที การใช้ Padlet ทำให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น ซึ่งในครั้งนี้ นักศึกษาไม่ต้องระบุตัวตน ทำให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นและมุมมองอย่างไม่เขินอาย นักศึกษาจะเห็นประเด็นร่วมกันในส่วนลักษณะของการออกแบบที่ดี ทำให้เห็นแนวทางในการออกแบบ และเห็นลักษณะแนวทางที่ด้อย เป็นการเลี่ยงที่จะไม่ออกแบบตามลักษณะดังกล่าว

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ความคิดสร้างสรรค์จากการซ้อนทับกระดาษ


ผลงานความคิดสร้างสรรค์ Paper Art 

เทคนิคการซ้อนกระดาษ (Layered Paper Art on Canvas) และใช้แสงเพื่อสร้างบรรยากาศ

ผลงานนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 วิชา ARTD3501 Creative Design 1/2562
สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ความคิดสร้างสรรค์จากการซ้อนทับกระดาษ

ผลงานความคิดสร้างสรรค์ Paper Art 

เทคนิคการซ้อนกระดาษ (Layered Paper Art on Canvas) และใช้แสงเพื่อสร้างบรรยากาศ

ผลงานนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 วิชา ARTD3501 Creative Design 1/2561
สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม