วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

การสร้างสรรค์หน้ากากอนามัย จาก Craft Trend 2020

จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้เกิด ความปกติรูปแบบใหม่ หรือ New normal จึงได้กำหนดโจทย์ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบให้เชื่อมโยงกับสถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งเพื่องานออกแบบตอบสนองต่อผู้บริโภค ซึ่งประเมินว่าจะส่งอิทธิพลทางความคิดต่อผู้บริโภค และสังเคราะห์เป็นแนวทางในการออกแบบงานหัตถศิลป์ (Craft Trend 2020 by SACICT) เช่น กลุ่ม 

1. Serenergy คือ กลุ่มผู้บริโภคที่มองหาบางอย่างเพื่อเติมเต็ม คุณค่า ค้นหาวิถีชีวิตใหม่ที่มีสติ ยั่งยืน ปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ เพื่อสร้างความสมดุลให้ชีวิต สงบ ผ่อนคลาย คนกลุ่มนี้นำไปสู่แนวทางการออกแบบ 

True Value ตระหนักในคุณค่าแท้ มี Keywords สำคัญได้แก่ NOWNESS (มีสติรู้ทันปัจจุบัน), CIRCULAR ECONOMY (เศรษฐกิจหมุนเวียน), SANCTUARY (พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ภายในจิตใจ)

2. Utopioneer คือ กลุ่มผู้บริโภคที่มองหาความท้าทายของโลกสมัยใหม่ ทะเยอทะยานที่จะเรียนรู้และทดลองกับเทคโนโลยีใหม่  เพื่อบุกเบิกเส้นทางสู่อนาคตสร้างสังคมที่ดีกว่า สร้างโลกที่ดีขึ้น เพื่อเข้าใกล้โลกในอุดมคติให้มากที่สุด คนกลุ่มนี้นำไปสู่แนวทางการออกแบบ

TECHNICAL CRAFT นวัตกรรมแห่งงานหัตถศิลป์ Keywords สำคัญได้แก่ BEYOND LIMIT (ก้าวข้ามข้อจำกัด), BIOMIMICRY (นวัตกรรมเลียนแบบธรรมชาติ), UTILITARIAN (ถือประโยชน์เป็นสำคัญ)

3. Anti-boring ใช้ชีวิตอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ช่างคิด ช่างฝัน เปี่ยมจินตนาการ สนุกสนาน ชอบผจญภัย เปิดใจให้กับโลกรอบตัว เพื่อผสมผสานให้เกิดความเป็นตนเอง คนกลุ่มนี้นำไปสู่แนวทางการออกแบบ

HAPPINESS PLAY เล่นอย่างสร้างสรรค์ Keywords สำคัญได้แก่ EXPERIMENT (กล้าทดลอง), POSITIVE (มองโลกในแง่ดี), FANTASY (จินตนาการเพ้อฝัน), TRIBAL (อัตลักษณ์ชนเผ่า)

4. Precidealist คือ กลุ่มคนมีอุดมการณ์อันแรงกล้า เป็นผู้นำทางความคิด มีจุดยืนที่ชัดเจน มีชื่อเสียงในสังคม น่าหลงใหล ลึกซึ้ง สนใจรากและที่มา คนกลุ่มนี้นำไปสู่แนวทางการออกแบบ

HERITAGE  FUSION หลอมรวมรากทางศิลปะอันล้ำค่า Keywords สำคัญได้แก่ LIBERAL (เสรีนิยม), MYSTERY (ลึกลับน่าค้นหา), GLAMOROUS (มีเสน่ห์ น่ามอง)


ผลงานการออกแบบหน้ากากอนามัย ด้วยการสร้างสรรค์ผสมการออกแบบและคำนึงถึงฟังก์ชันการใช้งาน
ของนักศึกษาแขนงออกแบบนิเทศศิลป์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ในรายวิชา ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการออกแบบ โดย อาจารย์นรรชนภ  ทาสุวรรณ เป็นผู้สอน